(1) ยิ้ม
ตื่นขึ้นมา... ให้ส่องกระจก ยิ้มให้ตัวเองก่อน คนอื่นจะยิ้มให้เราหรือไม่... ไม่เป็นไร แต่เราควรฝึกยิ้มน้อย ๆ ให้ตัวเองทุกครั้งที่ส่องกระจก เพราะยิ้มเป็นคุณสมบัติ แรกของคนน่ารัก
เวลาพบใคร... ให้สบตา ยิ้มหน่อย และควรเป็น "ยิ้มที่ไม่หวังยิ้มตอบแทน" เพราะวันนี้...อาจจะเป็นวันที่ ไม่ค่อยดีสำหรับคนอื่น (bad day) ก็ได้ เช่น คนที่เรายิ้มให้อาจจะไม่ถูกหวย ปวดหัว หรือมีอาการวัยทองแฝงเร้นอยู่ ภายใน ฯลฯ
ถ้าเขินที่จะยิ้ม... ให้ "แย้ม" หรือยิ้มนิด ๆ แทน
(2) ทักทาย
อาจารย์ ท่านแนะนำให้หัดกล่าว 'hello (ฮัลโหล)' หรือ 'hi (ฮาย)' เวลาทักท่านไม่ให้ "ทักแต่ปาก" ทว่า... ให้โบกไม้โบกมือ หรือพนักหน้าไปด้วย เพื่อแสดงความหนักแน่น
คนไทยหรือคนเอเชียมีวัฒนธรรมที่ ต่างจากฝรั่ง ไม่กล่าวฮัลโหลก็ไม่เป็นไร ขอให้ทักทายอะไรคนอื่นก่อนสั กอย่าง ไหว้ก็ได้ฮัลโหลก็ดี (ตามสมควร)
(3) ถามคนอื่นว่า "(เขาหรือเธอ) ทำอะไรอยู่เหรอ"
การถามแบบนี้ไม่ได้มุ่งหวั งคำตอบ เพียงแต่ถามเพื่อทักทาย คล้าย ๆ กับที่คนไทยและชาวพม่าชอบถามว่า "สบายดีไหม" หรือคนจีนชอบถามว่า "กินข้าวแล้วยัง"
การยิ้มให้และไม่พูดอะไรเลยอาจ ทำให้อีกฝ่าย หนึ่งอึดอัดได้... การพูดแบบนี้เรียกว่า "การพูดละลายน้ำแข็ง (Break the ice. = การพูดเพื่อเปิดตัว รู้จักกัน ทักทายกัน หรือทำลายกำแพงของความเงี ยบและความไม่รู้จักกัน)
(4) เป็นนักฟังที่ดี
ไม่ว่าอีกฝ่ายจะร้ายหรือดีเพี ยงไร คนน่ารักมักจะตั้งใจรับฟัง... ถ้าไม่อยากรับฟังนานเกินก็อาจ "ขอตัว" เช่น กล่าวว่า ขอตัวไปซื้อกับข้าว ฯลฯ
คนน่ารักส่วนใหญ่จะไม่พูดเรื่ องที่ตัวเองสนใจมาก ทว่า... จะรับฟัง หรือเชิญอีกฝ่ายให้พูดเรื่องที่ (อีกฝ่าย) สนใจ และไม่ "ขัดคอ" ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ
(5) สุภาพอ่อนน้อม
อาจารย์ท่านแนะนำให้พูดคำต่อไป นี้บ่อย ๆ ได้แก่ 'please = ได้โปรด กรุณา' , 'thank you = ขอบคุณ ขอบใจ' , 'You are welcome. = ยินดีต้อนรับ' , 'sir = ท่าน (ผู้ชาย)' , 'madam' หรือ 'ma'am = แมม / ท่าน (ผู้หญิง)' , 'Excuse me = ขอโทษ (เช่น เวลาขอทางเดิน ฯลฯ)' , 'sorry = เสียใจ (ใช้แทนคำขอโทษได้)'
คนน่ารักมักจะมีลักษณะสำคัญได้ แก่ 'Be patient, observant and considerate' ได้แก่ "อดทน ช่างสังเกต (ความรู้สึกของคนอื่น ไม่เฉยเมยต่อความรู้สึ กของคนรอบข้าง) และมีน้ำใจ"
(6) มองด้านบวก มองโลกในแง่ดี
อาจารย์ท่านแนะนำว่า อย่ามองด้านร้าย (negative) และ (เป็นคน) ชอบวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น (critical)
ทางที่ดีคือ ให้ฝึกมองโลกในแง่ดี กล่าวชมการทำดีของคนอื่นอย่างน้ อย วันละ 1 ครั้ง และ 'Cheer them up' = เชียร์ๆๆๆๆ (คนอื่น) เช่น เห็นใครเขียนบล็อกดี... อย่านิ่งดูดาย ให้เขียนขอบคุณ ขอบใจ หรือให้กำลังใจ เช่น โหวตลงคะแนนให้ (เว็บไซต์บางแห่งมี ระบบลงคะแนนให้บล็อกเกอร์) ฯลฯ
(7) อ่อนน้อมถ่อมตน
หลักสำคัญในการเป็นคนน่ารักคือ จำไว้ว่า คุณไม่ได้ "ดีไปกว่า" คนอื่น
ความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็ นประจำทำให้ทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ ยวข้อง "รู้สึกดี" คัมภีร์ท่านกล่าวว่า เมตตานั้น... อานิสงส์ (= กำไร) แรกที่จะได้คือ ตัวเอง ความอ่อนน้อมถ่อมตนก็เช่นกัน แท้จริงแล้วคนที่อ่อนน้อมได้นั่ นละจะยิ่งใหญ่มาจากภายใน
(8) เต็มใจให้ความช่วยเหลือ
แสดงความช่วยเหลืออย่างเต็มใจ เช่น เห็นคนอื่นถือของหนักอาจขอเข้ าไปช่วยถือให้ ฯลฯ อาจารย์ท่านแนะนำว่า คุณเป็นคนน่ารักของชุมชน (หรือสังคม) และโลกได้ด้วยการทำงานอาสาสมัคร
(9) จริงใจ
อาจารย์ท่านแนะนำว่า อย่าทำตัวเป็นคนน่ารักเพียงเพื่ อ หวังจะประจบสอพลอ หรือทำตัวประเภท "น่ารักหวังผล (ตอบแทน)" ทว่า... ขอให้เราจริงใจ และทำไปเพราะเห็นว่า เรื่องนี้ดี และความเป็นคนน่ารักทำให้ชีวิ ตของทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้ องดีขึ้น
(10) อย่า "ทำ ๆ หยุด ๆ"
คนที่น่ารักส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ มีความสม่ำเสมอ (consistency) ไม่ใช่คนประเภท "3 วันดี 4 วันไข้" หรือ "ผีเข้าผีออก"
ความน่ารักอยู่ที่ความสม่ำเสมอ และไว้ใจได้ (reliable) เพราะฉะนั้น... ถ้าอยากเป็นคนน่ารักก็ต้องทำตั วให้ดีเสมอต้นเสมอปลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น